
200 สำนวนไทย ที่ใช้บ่อย ในชีวิตประจำวัน
คลังสำนวนไทย รวบรวมสำนวนที่เป็นที่นิยม ทั้งหมด 200 สำนวน
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรงตัว แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ ส่วนใหญ่เป็นสำนวนที่เกิดจากวัฒนธรรมและพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
สำนวนไทยหมวด ก
- ก้มหน้า ก้มตา
หมายถึง ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจำใจ - กระจอกงอกง่อย
หมายถึง ยากจนเข็ญใจ - กระจัดพลัดพราย
หมายถึง แตกฉานซ่านเซ็นไป ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน - กระชังหน้าใหญ่
หมายถึง จัดจ้าน, ออกหน้ารับเสียเอง - กระแตวับ
หมายถึง หน้าเป็น เช่น แต่ล้วนตัวตอแหลกระแตวับ - กระโถนท้องพระโรง
หมายถึง ผู้ที่ใครๆ ก็ใช้ได้, ผู้ที่ใครๆ พากันรุมใช้อยู่คนเดียว - กระเทือนซาง
หมายถึง กระทบความรู้สึก มักใช้ในความปฏิเสธ - กระสือตอมห่า
หมายถึง ใช้เรียกคนหรือกลุ่มคนที่รุมมาหาผลประโยชน์อะไรซักอย่าง - กลมเป็นลูกบิลเลียด
หมายถึง หลบหลีก หลีกหนี แถไถ ไปได้คล่องแคล้วจนจับไม่ติดไล่ไม่ทัน - กลมเป็นลูกมะนาว
หมายถึง ลักษณะของคนที่หลบหลีกไปได้คล่องจนจับไม่ติด (มักใช้ในทางไม่ดี) - กลับหน้ามือเป็นหลังมือ
หมายถึง เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม - ก่อกรรมทำเข็ญ
หมายถึง ก่อความเดือดร้อนร่ำไป - กอดแข้งกอดขา
หมายถึง เคล้าแข้งเคล้าขา, ประจบประแจง, กอดมือกอดตีน, สอพลอ - ก่อร่างสร้างตัว
หมายถึง ตั้งเนื้อตั้งตัวเป็นหลักฐาน - กันท่า
หมายถึง กีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ - กาหลงรัง
หมายถึง ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง - กำลังกินกำลังนอน
หมายถึง อยู่ในวัยกินวัยนอน - กินแกงร้อน
หมายถึง ทำอะไรจวนตัว มาถึงตัวแล้วเพิ่งจะเริ่มทำ จนทำให้ลนลาน - กินของเก่า
หมายถึง การเสวยสุข ผลประโยชน์จาก บุญเก่าโดยไม่ เสาะแสวงหา ลู่ทางใหม่ ๆ อาศัยกินของเก่า - กินขันหมาก
หมายถึง ได้แต่งงานอย่างมีหน้ามีตา สมศักดิ์ศรี - กินดิบ
หมายถึง ชนะโดยง่ายดาย - กินนอกกินใน
หมายถึง เอากําไรในการซื้อขาย ทั้งในราคาและนอกราคาที่กําหนด - กินน้ำตา
หมายถึง ร้องไห้ เศร้าโศก - กินน้ำตาต่างข้าว
หมายถึง ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน - กินน้ำใต้ศอก
หมายถึง จําต้องยอมเป็นรองเขา ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า - กินน้ำพริกก้นถ้วย
หมายถึง จำเจ จืดชืด ขาดความแปลกใหม่ แลดูน่าเบื่อ - กินบ้านกินเมือง
หมายถึง ตื่นสายมาก - กินปูนร้อนท้อง
หมายถึง ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง - กินล้างกินผลาญ
หมายถึง กินครึ่งทิ้งครึ่ง กินทิ้งกินขว้าง กินอย่างสุรุ่ยสุร่าย - กินเส้น
หมายถึง ชอบกัน เข้ากันได้ มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่กินเส้นกัน - กู่ไม่กลับ
หมายถึง ไม่ฟังคำทัดทาน ห้ามไม่อยู่ - แก้วลืมคอน
หมายถึง คนที่รักกันแล้วแต่ยังไปหลงรักคนอื่น - ไก่รองบ่อน
หมายถึง ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสํารอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้ - ไกลปืนเที่ยง
หมายถึง การห่างไกลความเจริญ
สำนวนไทยหมวด ข - จ
- ขวานผ่าซาก
หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร(ใช้แค่กริยาพูด) - ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
หมายถึง สิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูไม่สวยงามหรือดูไม่ดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นมีความสวยงามหรือความดีซ่อนอยู่ภายใน - เข้าเนื้อ
หมายถึง ขาดทุน เสียทรัพย์ไป เสียหาย เสียเปรียบ - เข้าพระเข้านาง
หมายถึง แสดงบทเกี้ยวพาราสี - เข้าหูซ้ายทะลุหูขาว
หมายถึง บอกหรือสอนไปไม่ได้ผลไม่ได้ความ ไม่สนใจอะไร ไม่ฟังในสิ่งที่สอนสั่ง - คร่ำหวอด
หมายถึง มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญชำนาญในเรื่องนั้น ๆ สูง - ครึ่ง ๆ กลาง ๆ
หมายถึง การเรียนรู้หรือทำอะไรที่ไม่เต็มที่ไม่ครบสมบูรณ์ ทำอะไรยังไม่เสร็จหรือเลิกล้มไปกลางคันไม่ทำต่อ - คลื่นกระทบฝั่ง
หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญที่ค่อนข้างใหญ่โตแต่กลับเงียบหายไป - คลื่นใต้น้ำ
หมายถึง เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเหมือนสงบเรียบร้อยหรือพวกคลื่นใต้น้ำชอบก่อหวอดก่อเหตุการณ์วุ่นวาย ภายในคอยแซะอย่างลับหลัง - คลุกคลีตีโมง
หมายถึง มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คำนี้โบราณท่านเปรียบไว้ด้วยคำที่มีความหมายบ่งบอกที่ค่อนข้างชัดเจน คือคำว่าคลุกคลีนั่นเอง - คลุมถุงชน
หมายถึง ลักษณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายมาเผชิญกันทั้งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักกันมาก่อน - ควันหลง
หมายถึง เรื่องราวตามมาหรือเบื้องลึกเบื้องหลังที่มีหลุดออกออกมา หรือสิ่งที่ตามมาเป็นกระแสยังไม่จบซะทีเดียว จากเรื่องที่พึ่งเกิดยังไม่หมดสิ้นกลับปรากฏขึ้นอีก หรือผลพวงที่ตามมาจากเรื่องเหล่านั้น - คว่ำบาตร
หมายถึง ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย - คอทองแดง
หมายถึง ดื่มเหล้าเก่ง ไม่เมาง่าย ๆ - คอเป็นเอ็น
หมายถึง ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ ไม่อ่อนข้อ - คางเหลือง
หมายถึง ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต อาการหนักถึงหนักมาก - ฆ้องปากแตก
หมายถึง คนที่เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับหรือเรื่องไม่ดีของผู้อื่นไปโพนทะนา ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน - งอมพระราม
หมายถึง มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ ถูกกระทำอย่างหนักหน่วง - งอมืองอตีน
หมายถึง คนที่เกียจคร้าน วัน ๆ ไม่ทำอะไร ไม่สนใจขวนขวายการทำงาน - ง่อยเปลี้ยเสียขา
หมายถึง มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปกติ - งู ๆ ปลา ๆ
หมายถึง รู้นิด ๆ หน่อย ๆ - เงียบเป็นเป่าสาก
หมายถึง ลักษณะที่เงียบสนิท หรือสถานการณ์ที่ไม่มีใครพูดอะไร ไม่มีเสียงอะไร - จมูกมด
หมายถึง รู้ทันเหตุการณ์ผู้หญิงคนนั้นเป็นคนจมูกมด มักจะรู้เรื่องราวทุกอย่างในหมู่บ้านตลอดเวลา รู้อะไรไปหมด รู้ก่อนคนอื่นตลอด - จับตัววางตาย
หมายถึง กําหนดลงไปแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง กําหนดตัวบุคคลให้ประจําหน้าที่โดยเฉพาะวางตัวบุคคลให้ทำงานชิ้นใดชิ้นนึงอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะ - จุดไต้ตำตอ
หมายถึง พูด/ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเอาเจ้าของเรื่องเข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างไม่รู้ตัว - เจ้าหน้าเจ้าตา
หมายถึง คนที่ชอบทำงานเอาหน้า อยากได้หน้า ชอบเจ้ากี้เจ้าการ เสนอหน้าเข้าไปทำธุระให้โดยที่ผู้อื่นไม่ได้ร้องขอ - แจงสี่เบี้ย
หมายถึง การพูดชี้แจงหรืออธิบายอย่างละเอียดถี่ถ้วน - ใจหายใจคว่ำ
หมายถึง ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
สำนวนไทยหมวด ช - ต
- ชักใย
หมายถึง บงการอยู่เบื้องหลัง - ชุบมือเปิบ
หมายถึง ฉวยโอกาส เอาสิ่งของคนอื่นทำจนสำเร็จแล้วมาเป็นประโยชน์ของตน โดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอะไรมาก่อนเลย - ใช้แมวไปขอปลาย่าง
หมายถึง ให้คนที่ต้องการสิ่งนั้นเข้าไปยุ่งเกี่ยว ท้ายสุดต้องสูญเสียสิ่งนั้นไปให้กับเขา - ดอกทอง
หมายถึง หญิงใจง่ายในทางประเวณี - ดอกพิกุลร่วง
หมายถึง อาการนิ่งไม่พูด - ดินพอกหางหมู
หมายถึง การปล่อยงานคั่งค้างอยู่เรื่อยๆเพราะมัวแต่ผัดวันประกันพุ่งในไม่ช้างานที่คั่งค้างนั้นจะพอกพูนมากขึ้นทุกทีจนเป็นภาระที่หน้าเบื่อหน่ายภายหลัง - ดีดลูกคิดรางแก้ว
หมายถึง คิดรอบคอบแล้วมีแต่ได้อย่างเดียว - โดดร่ม
หมายถึง หลบเลี่ยงงานหรือการเรียน - ได้น้ำได้เนื้อ
หมายถึง ได้อะไรที่เป็นประโยชน์ ได้อะไรที่ดี ๆ มีสาระ ครบถ้วน - ได้หน้าได้ตา
หมายถึง ได้เกียรติ ได้ชื่อเสียง - ตกหลุมพราง
หมายถึง ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล กลลวง หลุมพราง - ตบตา
หมายถึง หลอกหรือลวงให้เข้าใจผิด ทำการหลอกล่อให้เข้าใจผิด - ต้มยำ ทำแกง
หมายถึง หลอกลวง โกหก ทำร้ายโดยไม่นึกถึงจิตใจใครคนอื่นเลยทำกันแบบไม่คิดถึงอกเขาอกเรา - ตลกบริโภค
หมายถึง ทำเนียน ทำตลกกลบเกลื่อน เพื่อผลประโยชน์หรือ ทำตัวเฮฮา ไปซะทุกเรื่อง - ต่อปาก ต่อคำ
หมายถึง คอยแต่จะเถียงกันไปมา ไม่รู้จักจบจักสิ้น - ตัดเชือก
หมายถึง ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป - ตัดญาติขาดมิตร
หมายถึง ตัดขาดจากกัน - ตัวเป็นเกลียว
หมายถึง อาการที่ขยันขันแข็ง มุ่งมั้นทำงานอย่างหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน - ตาเป็นนกแขวก
หมายถึง สอดส่อง สายตา มองไปมองมา ดูซ้ายดูขวา ดูไปทั่ว - ตาเป็นสับปะรด
หมายถึง คนที่หูตากว้างไกล ในที่นี้จะเน้นว่ามีพรรคพวกมาก ใครทำอะไร ที่ไหน จะรู้ไปหมด โดยรู้จากพรรคพวกเพื่อนฝูงหรือบริวารที่มีอยู่ทั่วไปเป็นคนส่งข่าวให้ โดยที่สำนวนตาเป็นสับปะรดนี้เกิดจากการเปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้ข่าวสาร เรื่องราว ของบุคคลกับตาของสับปะรดซึ่งมีอยู่รอบลูก - ตามเพลง
หมายถึง สุดแต่จะเป็นไป - ตาร้อน
หมายถึง เป็นอาการของคนที่มีความรู้สึกอิจฉาผู้อื่นในเรื่องต่าง ๆ ที่เหนือกว่าตน หรือเห็นคนอื่นได้ดี - ตาสีตาสา
หมายถึง คนบ้านนอกไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยทันเล่ห์เหลี่ยมคนในเมือง - ติดสอยห้อยตาม
หมายถึง คอยติดตามรับใช้, ไปไหนก็ไปด้วย - ตีนถีบปากกัด
หมายถึง มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้อง โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก ใช้ความพยายามในการต่อสู้ดำเนินชีวิต; ปากกัดตีนถีบ ก็ว่า - เต้นแร้งเต้นกา
หมายถึง แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนาน ด้วยการกระโดดโลดเต้น - ใต้ดิน
หมายถึง ไม่เปิดเผย ผิดกฎหมาย
สำนวนไทยหมวด ถ - บ
- ถวายหัว
หมายถึง ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตายสู้ตายถวายชีวิตให้ มอบชีวิตมอบความภักดีให้อย่างซื่อสัตย์ - ถอดเขี้ยวถอดเล็บ
หมายถึง ละพยศ, ละความเก่งกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไปลดความอันตรายความทะเยอทะยานลง - ถอนหงอก
หมายถึง ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่ พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่ - ถีบหัวส่ง
หมายถึง ไล่ไปให้พ้น, ไม่ไยดีอีกต่อไป. - เถรตรง
หมายถึง ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา. - ทนายหน้าหอ
หมายถึง หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา, ผู้รับหน้าแทนนาย. - ทองไม่รู้ร้อน
หมายถึง การกระทำที่เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือรู้สึกอย่างไร - ทางออก
หมายถึง ทางรอด, วิธีแก้ปัญหา. - ทิ้งทวน
หมายถึง ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทําอีกต่อไป - ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย
หมายถึง การทิ้งทวน ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เป็นครั้งสุดท้าย - ที่เท่าแมวดิ้นตาย
หมายถึง ที่ดินหรือเนื้อที่เล็กน้อย. - ทุบหม้อข้าว
หมายถึง ตัดอาชีพ, ทําลายหนทางทำมาหากิน. - แทงใจดำ
หมายถึง พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง - นกกระปูด
หมายถึง คนที่ชอบเปิดเผยความลับ - นกต่อ
หมายถึง คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี). - นอกคอก
หมายถึง ประพฤติไม่ตรงตามแบบตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ. - น้ำค้างกลางหาว
หมายถึง บริสุทธิ์มาก ไม่แปดเปื้อนเจือปนใด ๆ - น้ำตาตกใน
หมายถึง เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ. - น้ำผักบุ้งไป น้ำสายบัวมา
หมายถึง มีน้ำใจตอบแทนกัน - น้ำผึ้งหยดเดียว
หมายถึง เหตุที่เกิดเพียงเล็กน้อย - น้ำลด ตอผุด
หมายถึง เรื่องไม่ดีที่ปรากฏเด่นชัดขึ้นมา เมื่อหมดอำนาจ หรือไม่ได้อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ที่สามารถทำการปกปิดได้ - บนบานศาลกล่าว
หมายถึง ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ นำของมาบนหรือสัญญาว่าจะทำเพื่อให้สิ่งศักสิทธิ์ช่วยเหลือเกื้อหนุน - บอกเล่าเก้าสิบ
หมายถึง บอกกล่าวให้รู้. - บอกศาลา
หมายถึง ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป. - บานปลาย
หมายถึง ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม, ขยายเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตออกไป; ใช้เงินเกินกว่าที่ประมาณหรือกําหนดไว้. - เบี้ยหัวแตก
หมายถึง เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้วใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
สำนวนไทยหมวด ป - ม
- ปล่อยไก่
หมายถึง แสดงความโง่ออกมา - ปัดสวะ
หมายถึง [-สะหฺวะ] ก. ทําอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนไป. - ปากดี
หมายถึง พูดแบบไม่เกรงกลัว - ปากตลาด
หมายถึง ถ้อยคำที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่ากันมาอย่างนี้. ปากจัด. - เป็นกอบเป็นกำ
หมายถึง เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้เป็นกอบเป็นกำ, เป็นก้อนใหญ่ ทําประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ - เป็นปี่เป็นขลุ่ย
หมายถึง ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี, เช่น พูดเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย - เป็นหูเป็นตา
หมายถึง ช่วยสดับตรับฟังและดูแลรักษาแทน - เปิดหูเปิดตา
หมายถึง ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว) - ผลพลอยได้
หมายถึง สิ่งที่ได้รับนอกเหนือจากผลที่ได้ตามความมุ่งหมาย. - ผ้าเหลืองร้อน
หมายถึง อยากสึก (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) - ผีเข้าผีออก
หมายถึง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย, ไม่คงที่. - ฝากผีฝากไข้
หมายถึง ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย. - พกหิน
หมายถึง ใจหนักแน่น, ใช้เข้าคู่กับคำ พกนุ่น ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น - พระยาเทครัว
หมายถึง ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง - พระอิฐพระปูน
หมายถึง นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย - พร้าขัดหลังเล่มเดียว
หมายถึง คนดีถ้าขยันก็ตั้งตัวได้ - พริกกะเกลือ
หมายถึง กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล - ม้วนเสื่อ
หมายถึง เสียการพนันจนหมดตัว; เลิกกิจการเพราะขาดทุนจนไม่สามารถดําเนินกิจการนั้นต่อไปได้ - มัดมือชก
หมายถึง บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้ - มาเหนือเมฆ
หมายถึง มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย - มืดแปดด้าน
หมายถึง นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด - มือซุกหีบ
หมายถึง เข้าไปยุ่งเกี่ยว รับภาระหรือยุ่งเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ภาระของตนเอง - มือที่สาม
หมายถึง บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกหรือบ่อนทำลาย - มือสะอาด
หมายถึง มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวง - มือห่างตีนห่าง
หมายถึง สุรุ่ยสุร่าย; เลินเล่อ, สะเพร่า, ไม่ระมัดระวัง - ไม่ดูตาม้าตาเรือ
หมายถึง ไม่พิจารณาให้รอบคอบ - ไม้หลักปักเลน
หมายถึง โลเล, ไม่แน่นอน
สำนวนไทยหมวด ย - ศ
- ยกเครื่อง
หมายถึง ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น - ยกเค้า
หมายถึง เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า - ยกภูเขาออกจากอก
หมายถึง โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป - ย้อมแมวขาย
หมายถึง ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีโดยมีเจตนาจะหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี - ยาหม้อใหญ่
หมายถึง สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่ - แย้มปากเห็นไรฟัน
หมายถึง เพียงแต่พูดก็รู้ความหมาย - ร่มโพธิ์ร่มไทร
หมายถึง ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ - รอดปากเหยี่ยวปากกา
หมายถึง พ้นอันตรายมาได้อย่างหวุดหวิด - ร้อยลิ้นกะลาวน
หมายถึง อาการที่พูดกลับกลอกตลบตะแลง - รัดเข็มขัด
หมายถึง ประหยัด - ราชรถมาเกย
หมายถึง โชค ลาภ หรือยศ ตําแหน่ง มาถึงโดยไม่รู้ตัวหรือคาดฝันมาก่อน - ราบเป็นหน้ากลอง
หมายถึง ราบเรียบ, หมดเสี้ยนหนาม - รู้เห็นเป็นใจ
หมายถึง รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร - เรือล่มในหนองทองจะไปไหน
หมายถึง เมื่อจะต้องสูญเสียอะไรไปอย่างไม่มีทางที่จะสูญเปล่า ก็ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อนอะไร - ฤๅษีแปลงสาร
หมายถึง ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษรข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มีความหมายตรงกันข้าม - ลงแขก
หมายถึง ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง - ลมเพลมพัด
หมายถึง อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่าถูกกระทํา - ล้มหมอนนอนเสื่อ
หมายถึง ป่วยจนต้องนอนรักษาตัว - ลับลมคมใน
หมายถึง ความลับ, สิ่งที่เปิดเผยไม่ได้อยู่ภายใน, สิ่งที่ปกปิดเอาไว้ - เลี้ยงต้อย
หมายถึง เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเติบโตแล้วก็ยกฐานะขึ้นเป็นสามีหรือภรรยาของผู้เลี้ยงเอง - เลือดขึ้นหน้า
หมายถึง โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห - วัดรอยตีน
หมายถึง เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า - ศาลเตี้ย
หมายถึง เรียกการที่คนหรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจดำเนินคดีตามกฎหมายจับกุมคนมาชำระตัดสินความโดยพลการว่า ตั้งศาลเตี้ย
สำนวนไทยหมวด ส - อ
- สวมเขา
หมายถึง ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย - สองหน้า
หมายถึง ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ. - สันหลังยาว
หมายถึง เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า. - สาวไส้ให้กากิน
หมายถึง การนำความลับหรือเรื่องเลวร้ายไปบอกให้คนอื่นรู้ ซึ่งไม่ก่อประโยชน์ให้กับใคร แต่ผู้ที่ได้รับฟังกลับได้ล่วงรู้ความลับต่าง ๆ - สิ้นเนื้อประดาตัว
หมายถึง ไม่มีทรัพย์สมบัติเหลือติดตัว เช่น เขากลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวเพราะหมกมุ่นในการพนัน กิจการค้าของเขาล้มเหลวจนสิ้นเนื้อประดาตัว. - สิ้นไร้ไม้ตอก
หมายถึง ยากไร้, ขัดสนถึงที่สุด, เช่น เขาเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอก บ้านไม่มีจะอยู่ เสื้อผ้าแทบไม่มีจะใส่. - สิบแปดมงกุฎ
หมายถึง เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น. - เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักจนตาย
หมายถึง ฝีมือในการปรุงอาหารถ้าทำให้ถูกปากสามีได้ ย่อมผูกใจสามีให้รักไปจนตาย - ใส่ไฟ
หมายถึง เติมเชื้อเพลิง เช่น คอยเอาฟืนใส่ไฟไว้นะ อย่าให้ไฟดับ; จุดไฟเผาศพ; โดยปริยายหมายถึงให้ร้ายผู้อื่นทำให้ได้รับความเสียหาย เช่น เขาใส่ไฟผม อย่าไปเชื่อ. - ใส่หน้ากาก
หมายถึง แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด - ไส้แห้ง
หมายถึง ยากจน, อดอยาก - หญ้าปากคอก
หมายถึง สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก - หนอนหนังสือ
หมายถึง คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ - หนังหน้าไฟ
หมายถึง ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิดมา พ่อแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ - หน้าฉาก
หมายถึง ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. - หน้าเป็นม้าหมากรุก
หมายถึง หน้างอแสดงความโกรธ - หน้าเลือด
หมายถึง ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะเห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด - หมดตูด
หมายถึง หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ - หมดไส้หมดพุง
หมายถึง หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง - หมอบราบคาบแก้ว
หมายถึง ยอมตามโดยไม่ขัดขืน, ยอมแพ้โดยดี - หอกข้างแคร่
หมายถึง การมีศัตรูอยู่ใกล้ตัวเช่นคนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ - หักลำ
หมายถึง ทำให้เสียท่าหรือเสียเหลี่ยม - หัวไม่วาง หางไม่เว้น
หมายถึง ถูกเรียกใช้ โดนใช้งานอย่างหนักอยู่ตลอด ไม่ได้ว่างเว้น - หัวหกก้นขวิด
หมายถึง อาการที่ทำอะไรตามความพอใจอย่างเต็มที่ - หัวหมอ
หมายถึง เจ้าเล่ห์อ้างนู่อ้างนี่ไปเรื่อย ฉลาดแกมโกง - หาเช้ากินค่ำ
หมายถึง หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ - หายเข้ากลีบเมฆ
หมายถึง หายลับไปโดยไม่ได้พบอีก - หายใจไม่ทั่วท้อง
หมายถึง ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด - ออกยักษ์ออกโขน
หมายถึง กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ - ออกลาย
หมายถึง เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทําดีมาแล้ว - อ้าปากเห็นลิ้นไก่
หมายถึง รู้ทันกัน, รู้ทันสิ่งที่จะทำ - เออออห่อหมก
หมายถึง เอาใจฟัง, เห็นด้วย, พลอยเห็นไปตามด้วย (เหมือน เออออ) - เอาข้างเข้าถู
หมายถึง ไม่ใช้เหตุผล ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้ เอาสีข้างเข้าถู ก็ว่า - เอาน้ำลูบท้อง
หมายถึง อดทนในยามยามโดยกินน้ำแทนข้าว - เอาปูนหมายหัว
หมายถึง ผูกอาฆาตไว้ คาดโทษไว้ เชื่อแน่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้
คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับสำนวนไทยทั้ง 200 สำนวนกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน
หากยังไม่เจอสำนวนไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลยครับ