สำนวนไทย หมวด ป

"สำนวนไทย หมวด ป" ทั้งหมด มีอะไรบ้าง?
รวม สำนวนไทย หมวด ป ทั้งหมด มีดังต่อไปนี้
-
ปรบมือให้
หมายถึง ยกย่อง, สรรเสริญ. -
ปลอกคอ
หมายถึง สายรัดรอบคอ (มักใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงผู้มีอำนาจที่คอยให้ความคุ้มครองหรือช่วยเหลือ. -
ปลากระดี่ได้น้ำ
หมายถึง แสดงท่าทางดีใจจนเกินงาม -
ปลาติดร่างแห
หมายถึง คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า. -
ปลายอ้อปลายแขม
หมายถึง ที่ยังอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้, ที่ยังอยู่ห่างไกล. -
ปลายแถว
หมายถึง คนที่อยู่ท้ายแถว โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย ผู้ไม่มีความสำคัญ -
ปล่อยนกปล่อยปลา
หมายถึง ทำให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะกุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์. -
ปล่อยไก่
หมายถึง แสดงความโง่ออกมา -
ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง
หมายถึง พยายามทำให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา. -
ปวดเศียรเวียนเกล้า
หมายถึง เดือดร้อนรำคาญใจเพราะมีเรื่องยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน. -
ปอกกล้วยเข้าปาก
หมายถึง ง่าย, สะดวก. -
ปอดลอย
หมายถึง ใจไม่สู้ดีชักจะหวาด ๆ, ใช้ว่า ปอด ก็มี. -
ปัญญาแค่หางอึ่ง
หมายถึง มีความรู้น้อย, โง่. -
ปัดสวะ
หมายถึง [-สะหฺวะ] ก. ทำอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนไป. -
ปั้นน้ำเป็นตัว
หมายถึง สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา. -
ปากดี
หมายถึง พูดแบบไม่เกรงกลัว -
ปากตลาด
หมายถึง ถ้อยคำที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่ากันมาอย่างนี้. ปากจัด. -
ปากตำแย
หมายถึง อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากคัน หรือ ปากบอน ก็ว่า. -
ปากปราศัยน้ำใจเชือดคอ
หมายถึง พูดดีแต่คิดร้าย -
ปากปลาร้า
หมายถึง ชอบพูดคำหยาบ -
ปากว่ามือถึง
หมายถึง พอพูดก็ทำเลย -
ปากหนัก
หมายถึง ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร, พูดได้ช้า (ใช้กับเด็กที่ถูกสอนให้พูด) -
ปากหอยปากปู
หมายถึง ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย) -
ปากเปียกปากแฉะ
หมายถึง ว่ากล่าวตักเตือนตลอดเวลาไม่หยุดหย่อน -
ปากเหยี่ยวปากกา
หมายถึง ภัยอันตราย. -
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม
หมายถึง ยังเป็นเหมือนเด็กไม่มีความคิด เป็นการว่ากล่าวตำหนิคนที่ชอบอวดดี คิดว่าตนเองเก่งกว่าผู้อื่น -
ปิดประตูตีแมว
หมายถึง รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้. -
ปีกกล้าขาแข็ง
หมายถึง พึ่งตัวเองได้, เป็นคำที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตำหนิติเตียนผู้น้อย. -
ปีมะโว้
หมายถึง เวลานานมาแล้วจนไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อใด. -
เปิดหูเปิดตา
หมายถึง ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว) -
เป็ดขันประชันไก่
หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อยแต่อวดแสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง -
เป็นกอบเป็นกำ
หมายถึง เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้เป็นกอบเป็นกำ, เป็นก้อนใหญ่ ทำประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ -
เป็นตุเป็นตะ
หมายถึง อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วยตนเอง เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ -
เป็นทองแผ่นเดียวกัน
หมายถึง การที่ชายและหญิงแต่งงานกัน ทำให้ครอบครัวสองครอบครัวมีความแน่นแฟ้นผูกพันกัน -
เป็นน้ำเป็นนวล
หมายถึง มีผิวพรรณผุดผ่องสวยงาม -
เป็นบ้าเป็นหลัง
หมายถึง เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทำงานเป็นบ้าเป็นหลัง -
เป็นปี่เป็นขลุ่ย
หมายถึง ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี, เช่น พูดเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย -
เป็นฝั่งเป็นฝา
หมายถึง มีหลักฐานมั่นคง -
เป็นฟืนเป็นไฟ
หมายถึง รุนแรง, เต็มที่, (ใช้แก่กริยาโกรธ) เช่น โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ -
เป็นล่ำเป็นสัน
หมายถึง เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นจริงเป็นจัง -
เป็นวรรคเป็นเวร
หมายถึง ไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร -
เป็นหน้าดั้ง
หมายถึง คอยออกหน้าป้องกัน -
เป็นหุ่นให้เชิด
หมายถึง อยู่ในฐานะหรือตำแหน่งที่ต้องทำตามที่เขาสั่ง -
เป็นหูเป็นตา
หมายถึง ช่วยสดับตรับฟังและดูแลรักษาแทน -
เป็นเงาตามตัว
หมายถึง คอยติดตามอยู่ตลอดเวลา; เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามส่วน -
เป็นเนื้อเป็นตัว
หมายถึง เป็นหลักเป็นฐาน, สามารถตั้งหลักฐานขึ้นมาได้ -
เป็นโล้เป็นพาย
หมายถึง เอาการเอางาน ได้เรื่องได้ราว -
เป่าปี่
หมายถึง สูบฝิ่น -
เป่าฝุ่น
หมายถึง หกล้มไม่มีท่า, พลาดพลั้งอย่างไม่เป็นท่า -
แปดเหลี่ยมสิบสองคม
หมายถึง มีเล่ห์เหลี่ยมมาก. -
ไปตายเอาดาบหน้า
หมายถึง ยอมไปเผชิญกับความทุกข์และความลำบากข้างหน้า -
ไปน้ำขุ่น ๆ
หมายถึง หลบเลี่ยงไปอย่าง ข้าง ๆ คู ๆ -
ไปวัดไปวาได้
หมายถึง มีรูปร่างหน้าตาดีพอจะอวดเขาได้