สำนวนไทย หมวด น

"สำนวนไทย หมวด น" ทั้งหมด มีอะไรบ้าง?
รวม สำนวนไทย หมวด น ทั้งหมด มีดังต่อไปนี้
-
นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ
หมายถึง อาการที่สำเร็จอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง -
นกกระปูด
หมายถึง คนที่ชอบเปิดเผยความลับ -
นกต่อ
หมายถึง คนที่ทำหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี). -
นกรู้
หมายถึง ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน. -
นกสองหัว
หมายถึง คนที่ทำตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวังประโยชน์เพื่อตน -
นอกคอก
หมายถึง ประพฤติไม่ตรงตามแบบตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ. -
นอกสังเวียน
หมายถึง นอกวงการ, นอกเวที, เช่น เขาก็ดีแต่เก่งนอกสังเวียน. -
นอนหลับทับสิทธิ์
หมายถึง ไม่ใช้สิทธิ์ที่ตนมีอยู่เมื่อถึงคราวจะใช้, ทับสิทธิ์ ก็ว่า. -
นับสิบไม่ถ้วน
หมายถึง หลง เลอะเลือน -
นั่งทับอุจจาระ
หมายถึง ตัวเองทำผิด แต่ปกปิดไว้ -
นั่งในหัวใจ
หมายถึง รู้ใจ, ทำถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้. -
นายว่าขี้ข้าพลอย
หมายถึง พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย. -
นิยมนิยาย
หมายถึง ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยายไม่ได้ หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้. -
นิ่งเป็นสิงโตหิน
หมายถึง นิ่งเฉยไม่มีท่าทีใด ๆ -
น้ำขึ้นให้รีบตัก
หมายถึง เมื่อมีโอกาสหรือเมื่อโอกาสมาถึงก็จงรีบคว้าหรือรีบทำ -
น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
หมายถึง แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม -
น้ำค้างกลางหาว
หมายถึง บริสุทธิ์มาก ไม่แปดเปื้อนเจือปนใด ๆ -
น้ำซึมบ่อทราย
หมายถึง หาได้มาเรื่อย ๆ. -
น้ำซึมบ่อทราย
หมายถึง หาได้มาเรื่อย ๆ -
น้ำตาตกใน
หมายถึง เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ. -
น้ำตาเป็นเผาเต่า
หมายถึง ร้องไห้น้ำตาไหลพราก -
น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
หมายถึง พูดมากได้สาระน้อย -
น้ำท่วมปาก
หมายถึง การรู้อะไรแล้วพูดไม่ได้ พูดไม่ออกไม่สามารถพูดออกมาได้ เพราะมีความจำเป็นบางอย่างหรือเพราะเกรงจะมีภัยมาถึงตนเองแก่ตนหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย -
น้ำน้อยแพ้ไฟ
หมายถึง ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก. -
น้ำผักบุ้งไป น้ำสายบัวมา
หมายถึง มีน้ำใจตอบแทนกัน -
น้ำผึ้งหยดเดียว
หมายถึง เหตุที่เกิดเพียงเล็กน้อย -
น้ำผึ้งเดือนห้า
หมายถึง คนที่มีเสียงหวานไพเราะ -
น้ำลอดใต้ทราย
หมายถึง ทำอย่างลี้ลับ ไม่มีใครเห็น เช่น สายลับ จารชน -
น้ำสั่งฟ้าปลาสั่งฝน
หมายถึง สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย -
น้ำไหลไฟดับ
หมายถึง เร็วและคล่อง (ใช้แก่กริยาพูด). -
เนื้อไหนร้าย ให้ตัดทิ้งเสีย
หมายถึง สั่งสอนแล้วไม่ทำตัวให้ดีขึ้น ก็ปล่อยไปตามเรื่องราว